ฝ่ายสนับสนุน Steam
CS2 - คำแนะนำในการตั้งค่าวิดีโอ

ใช้อัตรารีเฟรชสูงสุดที่สามารถตั้งค่าให้จอภาพของคุณได้

จอแสดงผลคอมพิวเตอร์มักจะมี "โหมด" ที่แตกต่างกัน แต่ละโหมดแสดงถึงผลรวมของการตั้งค่าที่แตกต่างกัน เช่น "ความละเอียด" (จำนวนพิกเซลบนหน้าจอ) และ "อัตรารีเฟรช" (จำนวนภาพที่แตกต่างกันซึ่งจอแสดงผลสามารถแสดงต่อวินาที) อัตรารีเฟรชที่สูงขึ้นจะส่งผลให้การเคลื่อนไหวดูราบรื่นขึ้น ด้วยเหตุผลนี้ โดยทั่วไปจึงแนะนำให้เล่น CS2 ในโหมดที่มีอัตรารีเฟรชสูงสุดเท่าที่จอแสดงผลของคุณรองรับได้


ตรวจสอบอัตรารีเฟรชที่คุณตั้งค่าไว้ให้กับจอภาพของคุณซ้ำอีกครั้ง

หากคุณเป็นเจ้าของจอแสดงผลที่มีอัตรารีเฟรชสูงอยู่แล้ว คุณอาจไม่ต้องใช้งานจอแสดงผลในโหมดอัตรารีเฟรชสูงสุดก็ได้ เมื่อเล่น CS2 แบบหน้าต่างหรือแบบหน้าต่างเต็มจอ การตั้งค่าการแสดงผลของระบบของคุณจะกำหนดอัตรารีเฟรช ตัวอย่างเช่น ใน Windows 10 การตั้งค่านี้จะอยู่ใน "การตั้งค่าจอแสดงผลขั้นสูง"



โปรดใช้ NVIDIA G-Sync หรือ AMD FreeSync หากเป็นไปได้

โดยปกติแล้ว จอแสดงผลจะรองรับโหมดต่าง ๆ ในจำนวนคงที่ และการเปลี่ยนโหมดเป็นกระบวนการที่ทำได้ช้า ตัวอย่างเช่น หากจอแสดงผลอยู่ในโหมด 60 Hz เกมที่คุณเล่นอยู่นั้นจำเป็นต้องเรนเดอร์ให้เฟรมใหม่อย่างสม่ำเสมอทุก ๆ 1/60 ของวินาที หากไม่สามารถเรนเดอร์ให้เฟรมใหม่ได้ทันเวลา จอแสดงผลจะต้องแสดงเฟรมก่อนหน้านั้นอีกครั้ง ซึ่งส่งผลให้ได้รับประสบการณ์ที่ดูเหมือนเล่นในโหมด 30 Hz จึงอาจทำให้รู้สึกน่ารำคาญมากที่ดูเหมือนเกมจะสลับไปมาระหว่าง 60 Hz กับ 30 Hz

จอเกมมิ่งรุ่นใหม่จำนวนมากมีคุณสมบัติที่เรียกว่า "NVIDIA G-Sync" และ/หรือ "AMD FreeSync" ซึ่งช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เมื่อเปิดใช้งานคุณสมบัติเหล่านี้ จอแสดงผลของคุณจะเปลี่ยนอัตรารีเฟรชได้ทันทีโดยอัตโนมัติเพื่อให้ตรงกับสัญญาณที่ได้รับ ตัวอย่างเช่น หากจอแสดงผลของคุณทำงานในโหมด 60 Hz แต่คุณเปิดใช้งาน NVIDIA G-Sync หรือ AMD FreeSync ไว้ เกมที่คุณเล่นอยู่ในขณะนั้นจะเรนเดอร์ที่ 59 FPS หรือ 58 FPS หรือ 57 FPS เป็นต้น และจอแสดงผล จะเปลี่ยนอัตรารีเฟรชให้ตรงกับเกมโดยอัตโนมัติ วิธีนี้ช่วยให้เกมดูราบรื่นแม้ว่าจะไม่สามารถแสดงผลตามอัตรารีเฟรชที่ระบุไว้ในโหมดการแสดงผลได้อย่างสม่ำเสมอก็ตาม

หากเกมมีอัตราเฟรมสูงกว่าอัตรารีเฟรชที่ระบุไว้ตามโหมดการแสดงผล คุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีผลกระทบใด ๆ แต่ก็ไม่ควรก่อให้เกิดผลเสียเช่นกัน ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เราจึงขอแนะนำให้เปิดใช้งานคุณสมบัติดังกล่าวเมื่อเป็นไปได้


วิธีเปิดใช้งาน NVIDIA G-Sync

หากคุณใช้การ์ดกราฟิก NVIDIA และจอแสดงผลที่รองรับ NVIDIA G-Sync คุณสามารถเปิดใช้งานนอกเกมได้โดยใช้แผงควบคุม NVIDIA โปรดทราบว่า คุณอาจต้องเลือกกล่องตัวเลือกหลายกล่องทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจอแสดงผลของคุณ

และโปรดทราบด้วยว่า ในบางระบบ G-Sync อาจทำให้ภาพผิดเพี้ยนเมื่อเล่นแบบหน้าต่างไม่เต็มจอ

คุณจะต้องรีสตาร์ท CS2 หลังจากที่ทำการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้



วิธีเปิดใช้งาน AMD FreeSync

หากคุณใช้การ์ดกราฟิก AMD และจอแสดงผลที่รองรับ AMD FreeSync คุณสามารถเปิดใช้งานนอกเกมได้โดยใช้แอปซอฟต์แวร์ AMD

คุณจะต้องรีสตาร์ท CS2 หลังจากที่ทำการเปลี่ยนแปลงนี้



หากคุณใช้ NVIDIA G-Sync คุณควรใช้ V-Sync และ NVIDIA Reflex ด้วยเช่นกัน

การเล่นเกมที่อัตราเฟรมสูงกว่าอัตรารีเฟรชของจอแสดงผลของคุณมีข้อเสียหลายอย่าง ข้อเสียที่เห็นชัดที่สุดคือ "หน้าจอฉีกขาด" ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อจอแสดงผลได้รับเฟรมใหม่จากเกมในระหว่างการรีเฟรช ครึ่งบนและครึ่งล่างของหน้าจอจะแสดงให้เห็นเฟรมที่แตกต่างกัน

ปัญหาที่เห็นได้ไม่ชัดเจนคือ "ภาพกระตุก" เมื่อจอแสดงผลมีอัตรารีเฟรชของต่ำกว่าอัตราเฟรมของเกม (เช่น จอแสดงผลมีการเรนเดอร์ที่ 60 Hz ส่วนเกมมีการเรนเดอร์ที่ 70 FPS) เกมจะเรนเดอร์ให้เฟรมก่อนที่จอแสดงผลจะสามารถแสดงภาพได้ เมื่อเวลาผ่านไป จอแสดงผลและเกมจะเริ่มไม่ประสานกัน จนกระทั่งในที่สุดเกมจะเรนเดอร์สองเฟรมติดต่อกันก่อนที่จอแสดงผลจะสามารถแสดงให้คุณได้หนึ่งเฟรม ผลลัพธ์ที่ได้คือ "ภาพกระตุก" ซึ่งดูเหมือนว่าเกมจะกระโดดข้ามไปหนึ่งเฟรม

เกมจำนวนมากมีการตั้งค่าที่เรียกว่า "V-Sync" เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ V-Sync บังคับให้เกมเข้าสู่โหมด "สลีป" หลังจากเสร็จสิ้นจากเฟรมหนึ่งจนกระทั่งมีการรีเฟรชจอแสดงผลครั้งถัดไป ซึ่งจะช่วยซิงโครไนซ์อัตราเฟรมของเกมกับอัตรารีเฟรชของจอแสดงผลได้ โดยปกติแล้ว คุณสมบัตินี้ช่วยขจัดทั้งปัญหาหน้าจอฉีกขาดและปัญหาภาพกระตุก

V-Sync มีข้อเสียที่สำคัญข้อหนึ่งคือ เมื่อเกมอยู่ในโหมดสลีป เกมจะไม่ประมวลผลอินพุตจากคีย์บอร์ดและเมาส์ อีกทั้งอินพุตเหล่านั้นจะเข้าคิวรอประมวลผลในเฟรมถัดไปแทน ซึ่งส่งผลให้อินพุตมีความล่าช้ามากขึ้น (ระยะเวลาระหว่างอินพุตกับเวลาที่คุณเห็นผลกระทบบนหน้าจอ)

หากเปิดใช้งานทั้ง NVIDIA G-Sync และ NVIDIA Reflex ก็จะสามารถขจัดความล่าช้าที่ V-Sync เพิ่มให้กับอินพุตนี้ได้ NVIDIA Reflex เป็นตัวเลือกบนการ์ดกราฟิก NVIDIA หลายแบบที่ช่วยลดความล่าช้าของอินพุตโดยการแทรกช่วงเวลาโหมดสลีปเข้าไปก่อนการประมวลผลอินพุต ซึ่งหมายความว่าเกมจะมีเวลามากขึ้นที่จะเก็บรวบรวมอินพุตล่าสุดก่อนที่จะเรนเดอร์ให้เฟรมถัดไป เนื่องจากช่วงโหมดสลีปที่ Reflex เพิ่มให้เป็นเพียงค่าโดยประมาณ จึงเป็นไปได้ที่เกมจะพลาดกำหนดเวลารีเฟรชการแสดงผล (ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาพกระตุก) แต่ถ้าคุณเปิดใช้งาน G-Sync ด้วย (อ่านเนื้อหาข้างต้น) จอแสดงผลของคุณจะมีการปรับโดยอัตโนมัติเพื่อให้ตรงกับอัตราเฟรมที่ใช้งานได้ และคุณจะไม่ประสบปัญหาภาพกระตุก

ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ เราขอแนะนำให้เปิดใช้งาน V-Sync, NVIDIA G-Sync และ NVIDIA Reflex พร้อมกันหมดเมื่อมีคุณสมบัติทั้งสามให้พร้อมใช้งานได้ โปรดทราบว่าการเปิดใช้งานการตั้งค่าทั้งสามนี้จะจำกัดอัตราเฟรมของคุณให้ต่ำกว่าอัตรารีเฟรชของจอภาพเล็กน้อย ทั้งนี้เป็นไปโดยเจตนา และโดยปกติแล้วเป็นผลรวมจากการตั้งค่าให้มีภาพที่ดูราบรื่นที่สุดและอินพุตที่มีความล่าช้าต่ำสุด

เมื่อเริ่มต้นระบบ CS2 จะตรวจจับได้ว่าการกำหนดค่านี้พร้อมให้ใช้งานได้หรือไม่ แต่คุณไม่ได้ใช้งาน คุณจะเห็นหน้าต่างป็อปอัปพร้อมด้วยตัวเลือกมากมาย หากกดปุ่ม "ปรับใช้การเปลี่ยนแปลง" จะนำคุณสมบัติที่แนะนำไว้ดังต่อไปนี้ไปใช้โดยอัตโนมัติ:


ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับ Steam หรือไม่?
ใช้ขั้นตอนช่วยเหลือบน Steam เพื่อจำกัดประเด็นปัญหาของคุณให้แคบลงและขอความช่วยเหลือตามที่ต้องการ
การช่วยเหลือจากชุมชน
โพสต์หรือค้นหาคำตอบสำหรับคำถามของคุณในกระดานสนทนาบน Steam